สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินเดินหน้าเตรียมปรับความเข้มข้นระบบการแพทย์ฉุกเฉินในการรองรับสังคม EEC พร้อมบูรณาการความร่วมมือระหว่างจิตอาสากับท้องถิ่น

           (10 ธันวาคม 2562) ที่มูลนิธิสว่างบริบูรณ์ธรรมสถานเมืองพัทยา นายประสิทธิ์ ทองทิตย์เจริญ ประธานหน่วยกู้ภัยมูลนิธิสว่างบริบูรณ์ธรรมสถาน พร้อมคณะกรรมการมูลนิธิสว่างบริบูรณ์ ให้การต้อนรับ ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งมาจากมูลนิธิต่างๆ ในเครือสว่างกว่า 20 มูลนิธิ อาทิ มูลนิธิสว่างประทีปศรีราชา, มูลนิธิสว่างกตัญญูจันทบุรี , มูลนิธิสว่างอารนิยะ นครนายก, มูลนิธิสว่างสัจจะ กบินทร์บุรี, มูลนิธิสว่างบุญช่วยเหลือ ตราด เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้
              เรืออากาศเอก อัจฉริยะ แพงมะ เลขาธิการสถาบันแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในการประชุมวันนี้ถือว่าได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากมูลนิธิต่างๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออก ที่เดินทางมาเพื่อเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งต้องเรียกว่าที่ผ่านมาหน่วยงานหลายหน่วยงานได้ทำงานร่วมกับการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้มีการพัฒนาความช่วยเหลือ และความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากล่าสุดได้มีการนำเฮลิคอปเตอร์เข้ามาในแผนปฏิบัติการช่วยเหลือฉุกเฉินเพื่อรองรับสังคมและศรษฐกิจ EEC ที่จะมาถึง ซึ่งที่ผ่านมาระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่พบว่ามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมด้วยนั้นอาจจะแยกออกเป็น 3 ยุคเบื้องต้น ยุค 1 ยุคจิตอาสา ที่มีภาคประชาชนที่มีจิตอาสามาร่วมในการทำงานโดยไม่หวังผลตอบแทน ยุค 2 ยุคศูนย์นเรนทร ซึ่งได้มีการก่อตั้งขึ้นมาในปี 2538 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง โดยมองว่าการดำเนินการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นจำเป้นต้องมีแพทย์ไปด้วย ก็จะมีความปลอดภัยสูง แต่ก็สามารถให้บริการได้คลอบคลุม โดยหากผู้ป่วยหรือเหตุฉุกเฉินมีระยะทางที่ไกลกว่า 10 กิโลเมตรก็จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ยุค 3 คือยุคที่ท้องถิ่นจะเข้ามามีบทบาบทในการช่วยเหลือมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะติดปัญหาเรื่องของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.ที่เข้ามามีส่วนดูแลในการกำกับการดำเนินการ ตรวจสอบการดำเนินงานของท้องถิ่น เลยทำให้มีปัญหาในเรื่องของการทำงาน ซึ่งจากนี้ไป 3 ยุคจะต้องเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยในการขับเคลื่อนหน่วยการแพทย์ฉุกเฉินให้มีความสมบูรณ์ ด้วยการบูรณาการความร่วมมือ 3 หน่วยงานร่วมกัน ซึ่งในนอนาคต 1669 อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง อาจจะมีช่องทางอื่นในการประสานความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานนี้ขึ้นมาแทน เพื่อจ่ายงานไปตามหน่วยงานที่ตรงตามความช่วยเหลือ
         สำหรับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน คือ ระบบที่มีการเตรียมความพร้อมในด้านทรัพยากรและบุคลากรที่จะให้บริการรักษาพยาบาลทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งนอกและในโรงพยาบาล การรักษาในห้องฉุกเฉินของแต่ละโรงพยาบาลมักเป็นแนวตั้งรับ กล่าวคือ ให้การรักษาแก่ผู้ป่วยที่มีอาการและมาถึงโรงพยาบาลแล้ว แต่ในบางครั้งผู้ป่วยมีอาการเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล ซึ่งถ้าให้การรักษาตั้งแต่ที่บ้านหรือ ณ ที่เกิดเหตุ ก็ย่อมสามารถให้การช่วยชีวิตหรือการรักษาเบื้องต้นที่ดีได้ก่อนที่จะมีอาการลุกลามรุนแรงมากแล้วเมื่อมาถึงโรงพยาบาล
Subscribe
Advertisement