7 หน่วยงาน จัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน สนับสนุนเขตเศรษฐกิจระเบียงตะวันออก

กระทรวงสาธารณสุขจับมือ 7 หน่วยงาน จัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศบนทางหลวงพิเศษมอเตอร์
เวย์ กรุงเทพ – แหลมฉบัง รองรับผู้ป่ วยฉุกเฉิน / อุบัติเหตุ ลดเวลาเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ สนับสนุนเขตการพัฒนา
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC
วันนี้ (9 ธันวาคม 2562) ที่ ด่านเก็บค่าผ่านทางหลวงพิเศษหนองขาม จังหวัดชลบุรีดร.สาธิต ปิตุเตชะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิรัช พิมพะนิตย์ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมเป็นประธานในการสาธิตเฮลิคอปเตอร์การแพทย์ฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ป่ วยอุบัติเหตุบนทางหลวงพิเศษ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กรมทางหลวง ส านักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ต ารวจทาง
หลวง กองบินต ารวจ บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการจ ากัด(มหาชน) เข้าร่วมกว่า 250 คน
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลได้มีโครงการพัฒนา
ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ท าให้มีการใช้เส้นทางหลวง
พิเศษมอเตอร์เวย์ กรุงเทพ-แหลมฉบัง มากขึ้น ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุจากการใข้รถด้วยความเร็วรถสูง กระทรวง
สาธารณสุข จึงได้ร่วมกับกระทรวงคมนาคม สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ส านักงานต ารวจแห่งชาติ ส านักงานการ
บินพลเรือนแห่งประเทศไทย ส านักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และบริษัทกรุงเทพดุสิต
เวชการจ ากัด(มหาชน) เพิ่มศักยภาพการแพทย์ฉุกเฉินด้วยการใช้เฮลิคอปเตอร์ล าเลียงผู้บาดเจ็บทางอากาศ เพื่อสร้าง
ความเชื่อมั่นในระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยแก่นักท่องเที่ยว นักลงทุน และสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่
EEC ซึ่งครั้งนี้เป็นการซักซ้อมความเข้าใจในกระบวนการปฏิบัติงาน การวางแผนการเข้าจุดเกิดเหตุโดยเฮลิคอปเตอร์
พร้อมทีมแพทย์ร่วมกับรถฉุกเฉินในพื้นที่ โดยแผนการด าเนินงานระยะต่อไปจะร่วมกับกรมทางหลวง เปิดช่องทาง
พิเศษเป็นระยะเพื่อง่ายต่อการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ


“ความร่วมมือครั้งนี้ จะท าให้ทีมแพทย์ฉุกเฉินเข้าถึงผู้ป่ วยและผู้ประสบอุบัติเหตุได้รวดเร็วขึ้น ในระยะเวลาไม่
เกิน 1 ชั่วโมง ด้วยการล าเลียงทางอากาศ ช่วยแก้ปัญหารถกู้ชีพเข้าถึงจุดเกิดเหตุยาก จะช่วยลดการตาย ความพิการ
จากอุบัติเหตุได้” ดร.สาธิตกล่าว
ด้านเรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน หรือ สพฉ. กล่าวว่า สพฉ.
ได้จัดระบบการช่วยเหลือและน าส่งผู้ป่ วยด้วยอากาศยาน (Thai Sky doctor) ได้ด าเนินโครงการมาตั้งแต่ปี
2553 เพื่อช่วยผู้ป่ วยฉุกเฉินในพื้ นที่ห่างไกลทุรกันดาร หรือเข้าถึงยาก ซึ่งปี งบประมาณ 2562 ที่ผ่านมา มี
ปฏิบัติการ Sky doctor 59 ครั้ง ช่วยชีวิตผู้ป่ วยฉุกเฉิน 66 ราย ส าหรับพื้นที่ EEC มีอัตราการเจ็บป่ วย
ฉุกเฉินและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรสูงที่สุดในประเทศ โดยเฉพาะบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเนื่องจากเป็น


พื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก จึงจัดให้มีการช่วยเหลือสาธิตโดยใช้ทีมฉุกเฉินจากกรมทางหลวง โรงพยาบาลชลบุรีและมูลนิธิใน
พื้นที่ ร่วมกับเฮลิคอปเตอร์จากกองบินต ารวจ และบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการจ ากัด(มหาชน) โดยได้รับความร่วมมือ
จากส านักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย แก้ไขระเบียบด้านการบินให้การบินเพื่อการแพทย์ฉุกเฉิน อ านวยความ
สะดวกให้ลงจอดนอกสนามบิน เป็นการลดระยะเวลาและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้ผู้ป่ วยฉุกเฉิน
ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อ านวยการส านักงานการบินพลเรือน แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ส านักงานการบิน
พลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ได้ออกประกาศ เรื่อง ข้อก าหนดการเดินอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์ของ
ผู้ ด าเนินการเดินอากาศ (Helicopter Operations Requirements) พ .ศ. 2562 เพื่ อให้
ผู้ด าเนินการเดินอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์ ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยสากล ด้านบุคลากร อุปกรณ์ทาง
การแพทย์ และการให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อให้บุคคลที่สาม ผู้ได้รับบาดเจ็บ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการด้วยความ
ปลอดภัยสูงสุด มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มีนาคม 2563 โดยสามารถรับ-ส่ง ขึ้น-ลง นอกเขตสนามบิน เพื่อให้เข้าใกล้
จุดเกิดเหตุได้อย่างรวดเร็วเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ป่ วยหรือผู้บาดเจ็บ และโครงการน าร่องในเขตพื้นที่ EEC นี้ จะ
เป็นต้นแบบส าหรับการประยุกต์ใช้กับทางหลวงและพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศต่อไปในอนาคต

ภาพข่าว # สมชาย แก้วนุ่ม / แหลมฉบัง ศรีราชา

Subscribe
Advertisement